หมอญี่ปุ่นกดดันรัฐบาลหลัง ผู้ป่วยโควิดทะลุ 1 หมื่นคน

หมอญี่ปุ่นกดดันรัฐบาลหลัง ผู้ป่วยโควิดทะลุ 1 หมื่นคน

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 20 เม.ย.ว่ากระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่นออกแถลงการณ์เมื่อข่วงสายของวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น เป็นการรายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศ ว่าผู้ป่วยสะสมเพิ่มเป็นอย่างน้อย 10,810 คน แต่หากรวมกับสถิติผู้ป่วยนานาชาติ 712 คนจากเรือสำราญไดมอนด์ ปรินเซส จำนวนผู้ป่วยสะสมจากโรคโควิด-19 ในญี่ปุ่นจะเพิ่มเป็นอย่างน้อย 11,522 คน

ทั้งนี้ กรุงโตเกียวยังคงครองสถิติมีผู้ติดเชื้อสะสมมากที่สุด คืออย่างน้อย 3,082 คน ตามด้วยจังหวัดโอซากา 1,211 คน จังหวัดคานางาวะ 782 คน จังหวัดชิบะ 682 คน จังหวัดไซตามะ 664 คน จังหวัดฟุกุโอกะ 519 คน และจังหวัดเฮียวโงะ 513 คน โดยจากจำนวนผู้ติดป่วยสะสมทั้งหมดมีอย่างน้อย 215 คน "อาการยังวิกฤติ" รวมผู้โดยสาร 4 คนจากเรือไดมอนด์ ปรินเซสด้วย
 
ขณะที่ผู้เสียชีวิตสะสมมีอย่างน้อย 238 คน แต่หากรวมกับผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 13 คน ผู้เสียชีวิตสะสมจะเพิ่มเป็นอย่างน้อย 251 คน ส่วนผู้ที่ได้รับการรักษาจนหายดีเพิ่มเป็นอย่างน้อย 1,713 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยภายในประเทศอย่างน้อย 1,069 คน และอีก 644 คนจากเรือไดมอนด์ ปรินเซส

นพ.เคนทาโร อิวาตะ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อจากมหาวิทยาลัยโกเบ กล่าวว่าแผนการตรวจหาเชื้ออย่างจำกัด โดยเน้นเฉพาะกลุ่มผู้มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย และการเน้นติดตามบุคคลที่เข้าข่ายเป็นกลุ่มเสี่ยง ใช้ได้ผลใน "ระยะแรก" ของการแพร่ระบาดในชุมชน ซึ่งยังมีผู้ป่วยจำนวนไม่มาก แต่ญี่ปุ่นกลับยังคงใช้กลยุทธ์แบบเดิมเมื่อผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น การติดตามหาเฉพาะผู้ร่วมอยู่ในกลุ่มก้อนการแพร่ระบาดกลายเป็นวิธีที่ไม่ได้ผลอีกต่อไป
 
นพ.อิวาตะมองว่า ญี่ปุ่นต้องปรับเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์ทันที "แต่น่าเสียดาย" ที่ญี่ปุ่น "ไม่เก่ง" ในเรื่องดังกล่าว เพราะมีกรอบความคิดว่า การวางแผนสำรองคือการยอมรับโดยปริยาย ว่าแผนที่ใช้ครั้งแรกจะล้มเหลว

ด้านนพ.ฮารุโอะ โอซากิ ประธานสมาคมแพทย์โตเกียว เตือนว่าเตียงผู้ป่วยสำหรับคนไข้โควิด-19 ในญี่ปุ่นเกือบเต็มความจุแล้ว แม้โรงพยาบาลทุกแห่งพยายามอย่างสุดความสามารถในการเพิ่มเตียงผู้ป่วย แต่การที่ในแต่ละวันมีการพบผู้ป่วยใหม่เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เตียงผู้ป่วยเต็มแทบจะทันที บ่งชี้ว่าระบบโรงพยาบาลทั่วไปในประเทศไมได้รับการออกแบบมาให้รองรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อ ในกรณีฉุกเฉินที่โรงพยาบาลเฉพาะทางหรือโรงพยาบาลที่ได้รับมอบหมายไว้ไม่สามารถให้ความดูแลผู้ป่วยได้อีกต่อไป
 
นอกจากนี้ โรงพยาบาลแทบทุกแห่งในญี่ปุ่นกำลังประสบกับวิกฤติขาดแคลนเครื่องมือแพทย์อย่างหนัก ทั้งนพ.อิวตะและนพ.โอซากิกล่าวตรงกันว่า การใช้สถานการณ์ฉุกเฉินถึงวันที่ 6 พ.ค.นี้ยังไม่เพียงพอ ตราบใดที่ภาครัฐยังมีท่าทีย้อนแย้ง ขอความร่วมมือให้ประชาชนเว้นระยะห่างทางสังคม แต่ยังคงปล่อยให้ร้านอาหาร ร้านค้า และสถานประกอบการเสี่ยงอีกหลายประเภทเปิดตามปกติ


ขอบคุณข้อมูลและรูปจาก : REUTERS, AFP

 

Admin : ข้าวปั้น

สนใจแพคเกจท่องเที่ยว, ตั๋วเครื่องบินทั่วโลก หรือบัตรท่องเที่ยวต่างๆ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 02-2945598, 092-294 5598
หรือ คลิ๊ก https://www.itravelroom.com/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้