"อินเดีย" หนึ่งในผู้ผลิตยาและวัคซีนรายใหญ่ของโลก เดินหน้าเต็มกำลัง เร่งคิดค้นวัคซีนโควิด-19

"อินเดีย" หนึ่งในผู้ผลิตยาและวัคซีนรายใหญ่ของโลก เดินหน้าเต็มกำลัง เร่งคิดค้นวัคซีนโควิด-19

ไมค์ ปอมปีโอ (Mike Pompeo) รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา กล่าวเมื่อสองสัปดาห์ก่อนว่า อินเดียและสหรัฐอเมริกากำลังทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาวัคซีนต่อต้าน โควิด-19

บริษัทในอินเดียกำลังพัฒนาวัคซีนสำหรับโควิด


นี่ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ เพราะที่ผ่านมาทั้งสองประเทศดำเนินโครงการพัฒนาวัคซีนร่วมกันมานานกว่า 3 ทศวรรษ ได้รับการยอมรับในระดับสากล ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออก โรคลำไส้ โรคไข้หวัดใหญ่ และวัณโรค บางวัคซีนยังคงมีการค้นคว้าอยู่อย่างต่อเนื่อง

 
อินเดีย เป็นหนึ่งในผู้ผลิตยาและวัคซีนทั่วไปรายใหญ่ที่สุดในโลก บริษัทยาและเทคโนโลยีชีวภาพในอินเดียหลายรายกำลังเร่งพัฒนา วัคซีนโควิด-19 
 
หนึ่งในนั้นคือ สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย (Serum Institute of India) ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดของโลก มีจำนวนวัคซีนที่ผลิตและจำหน่ายทั่วโลก เฉลี่ย 1.5 พันล้านโดสต่อปี 

สถาบันเซรุ่มฯ ดังกล่าว จัดหาวัคซีน 20 ชนิดให้กับ 165 ประเทศทั่วโลกทุกปี โดย 80% ของวัคซีนจะถูกส่งออก และโดยเฉลี่ยมีราคาเพียง 50 เซนต์ (ราว 16 บาทไทย) ต่อโดสเท่านั้น เป็นวัคซีนที่ถูกที่สุดในโลก

ตอนนี้ สถาบันเซรุ่มฯ ได้ประสานความร่วมมือกับโคดาจีนิกซ์ (Codagenix) ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพอเมริกัน เพื่อพัฒนาวัคซีนประเภท "live attenuated" 1 ใน 89 วัคซีนต้นแบบต้าน โควิด-19 จากทั่วโลกที่องค์การอนามัยโลก (WHO) รับรอง

สถาบันผลิตเซรุ่มของอินเดียซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองปูเน่ เป็นผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดของโลก


 
วัคซีนดังกล่าวสร้างขึ้นโดยลดความรุนแรง หรือกำจัดคุณสมบัติที่เป็นอันตรายของเชื้อโรค แต่ทำให้มันมีชีวิตอยู่ (โดยไม่ก่อให้เกิดโรคหรือเกิดโรคไม่รุนแรงมากนัก เนื่องจากเชื้อโรคอ่อนแอลงภายใต้สภาพห้องปฏิบัติการ)


อดาร์ ภูนวาลา (Adar Poonawalla) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสถาบันเซรัมแห่งอินเดีย บอกว่า “เราวางแผนที่จะทำการทดลองวัคซีนโควิด-19 ตัวนี้ในสัตว์ (หนูและลิง) ในเดือนเมษายน แล้วในเดือนกันยายนเราจะสามารถเริ่มการทดลองในมนุษย์ได้” 

สถาบันฯ ยังจับมือกับมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เพื่อช่วยผลิตวัคซีนต้นแบบต้าน โควิด-19 อีกตัวหนึ่ง ซึ่งเริ่มการทดสอบทางคลินิกในมนุษย์เมื่อวันพฤหัสบดี (23 เม.ย.) ที่ผ่านมา ซึ่งหากทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าจะผลิต วัคซีนโควิด-19 ตัวดังกล่าวออกมาใช้ในกรณีฉุกเฉิน อย่างน้อย 1 ล้านโดสภายในเดือนกันยายน

ศ.เอเดรียน ฮิลล์ (Adrian Hill) ผู้บริหารสถาบันเจนเนอร์ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กล่าวว่า “มันค่อนข้างชัดเจนว่าโลกกำลังต้องการวัคซีนปริมาณหลายร้อยล้านโดสภายในสิ้นปีนี้ เพื่อยุติการระบาดใหญ่ของ โควิด-19 นี้”

นี่คือจุดที่ผู้ผลิตวัคซีนในอินเดียแตกต่างจากที่อื่น เฉพาะศักยภาพของสถาบันเซรุ่มฯ เพียงแห่งเดียว ก็มีกำลังการผลิตวัคซีนเพิ่มเติม 400-500 ล้านโดส

ด้านภารัตไบโอเทค (Bharat Biotech) ที่เมืองไฮเดอราบัด (Hyderabad) ได้ประกาศความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน และฟลูเจน (FluGen) บริษัทในสหรัฐฯ ในการคิดค้น วัคซีนโควิด-19
 
ส่วน Zydus Cadilla กำลังศึกษา วัคซีนโควิด-19 จำนวน 2 ชนิดในขณะที่ Biological E, Indian Immunologicals และ Mynvax กำลังพัฒนาวัคซีนแห่งละชนิด และยังมี วัคซีนโควิด-19 ต้นแบบอีก 4-5 ชนิดที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับการรับรองโดย WHO
 

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าประชาชนไม่ควรคาดหวังจนเกินไปว่าจะมี วัคซีนโควิด-19 ออกมาในตลาดเร็ว ๆ นี้


ที่มา : SOURCR1   SOURCE 2   

BY : ขนุน

 

สนใจแพคเกจท่องเที่ยว, ตั๋วเครื่องบินทั่วโลก หรือบัตรท่องเที่ยวต่างๆ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 02-2945598, 092-294 5598
หรือ คลิ๊ก https://www.itravelroom.com/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้